มีหลายงานวิจัยกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุน กับระดับวิตามิน K ที่ร่างกายได้รับ เริ่มจากการรับประทานนัตโตะ ( นัตโตะเป็นอาหารที่มีวิตามิน K2-7 สูง เปรียบเทียบโดย นัตโตะ 1 แพค 40 g. จะมีปริมาน menaquinone-7 ถึง 350 mcg )
โดยงานวิจัยของ Ikeda et al. ได้ทำงานศึกษาสตรีชาวญีปุ่นจำนวน 944 คน รับประทานนัตโตะ 1-4 แพค / สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อดูค่าของมวลกระดูกที่สะโพก , กระดูกต้นขา, กระดูกปลายแขน พบว่าในกลุ่มหญิงวัยหมดประจำเดินที่รับประทานนัตโตะนั้น มีค่าของมวลกระดูกเพิ่มขึ้น เห็นชัดได้ว่า การรับประทานนัตโตะมีส่วนช่วยเพิ่มมวลกระดูกและมีส่วนช่วยในการลดอัตราเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนได้ด้วย
นอกจากนี้ ในงานวิจัยของ Shiraki et al. ทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนจำนวน 241 คน โดยให้วิตามิน K2-4 45mg/วัน โดยให้วิตามิน K2-4 45mg/ วัน เป็นระยะเวลา 24 เดือน พบว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนที่ให้วิตามิน K2-4 วิตามินช่วยลดการสลายตัวของมวลกระดูก และสามารถลดการเกิดกระดูกหักได้
Schoon et al ทำการศึกษาผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Crohn’s disease) จำนวน 32 คน พบว่าในกลุ่มของคนไข้ที่เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง จะมี Uncarboxylated osteocalcin (ucOC; free osteocalcin) ในปริมาณที่สูงกว่าคนปกติอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งค่า ucOC นี้จะแปรผกผันกับระดับวิตามิน K ที่อยู่ในร่างกาย กล่าวคือถ้ามีปริมาณ ucOC ที่สูงหมายถึง ร่างกายมีปริมาณวิตามินKต่ำ ทำให้osteocalcinไม่ได้ถูกกระตุ้น จึงทำให้ไม่มีการนำแคลเซียมไปสะสมในเนื้อกระดูก ส่งผลทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนได้มากขึ้น